วันแรงงานแห่งชาติ ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม – Google Doodles วันนี้ให้ควาามสำคัญกับพี่น้องผู้ใช้แรงงานชาวไทย โดยเปลี่ยนเปนโลโก้ ผู้ชายลักษณะเหมือนช่างกำลังยกโลโก้ Google และมีกล่องเครื่องมือวางอยู่ข้างๆ ซึ่งจะสื่อถึงการใช้แรงงานนั่นเอง เรามารู้จักกับประวัติวันแรงงานแห่งชาติ (ภาษาอังกฤษ National Labor Day หรือ May day) กันนะครับ…
ในหลายประเทศกำหนดวันที่ 1 พฤษภาคม หรือ “May Day” เป็นวันแรงงาน ชาวยุโรปโบราณถือว่า วันเมย์เดย์ เป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใหม่ในทางเกษตรกรรม จึงได้จัดพิธีเฉลิมฉลองรื่นเริง ซึ่งในพิธีการได้นำเอาต้นไม้มาตกแต่งประดับให้สวยงาม และสมมติคนหรือตุ๊กตาให้เป็นเทพเจ้าแห่งการเกษตร เพื่อทำการบวงสรวงบนบานขอให้ปลูกพืชได้ผลดี ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
ในปีพ.ศ. 2433 ได้มีการเรียกร้องในหลายประเทศในทางตะวันตก ให้ถือวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล ในปี พ.ศ.2433 ประเทศไทยในยุโรปหลายประเทศได้เริ่มฉลองวันแรงงานในวันที่ 1 พฤษภาคม และดำเนินสืบมาจนถึงปัจจุบัน
ในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ.2496-2499 มีการตื่นตัวในเรื่องการก่อตั้งองค์การลูกจ้าง ขณะนั้นกฏหมายแรงงานยังไม่มี จึงตั้งขึ้นในนามของสมาคมกรรมกรไทยและสมาคมเสรีแรงงานแห่งประเทศไทย และได้ความรู้ว่าหลายประเทศถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคมเป็น “วันแรงงาน”
ต่อมาในวันที่ 20 เมษายน 2499 คณะกรรมการจัดงานที่ระลึกวันแรงงานได้จัดให้มีการประชุมขึ้น ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรกำหนดควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ระลึกแรงงานในประเทศไทย จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้ทางราชการรับรองวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ระลึกของแรงงาน
ในวันที่ 30 เมษายน 2499 ได้มีประกาศจากสำนักนายกรัฐมนตรีให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วันแรงงานแห่งชาติ และใน พ.ศ.2500 ได้มีพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 บัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงานประจำปีในวันกรรมกรแห่งชาติ คือวันที่ 1 พฤษภาคม
พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มีอายุได้ 18 เดือน ก็ถูกยกเลิกไป จึงมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เข้ามาแทนที่ แต่เนื่องจากสถานการณ์ในขณะนั้นผันผวน จึงขอร้องมิให้มีการเฉลิมฉลองทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
จนกระทั่งในปี พ.ศ.2517 ทางการเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะเปิดให้มีการเฉลิมฉลองตามสมควร จึงมอบหมายให้กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย เริ่มจัดการฉลองวันแรงงานแห่งชาติขึ้นที่สวนลุมพินี ซึ่งมีการทำบุญตักบาตรตามประเพณีไทย มีนิทรรศการแสดงความรู้และกิจกรรมของแรงงาน มีการอภิปราย มีการละเล่นต่างๆ และนายกรัฐมนตรีกล่าวคำปราศรัยแก่พี่น้องชาวแรงงานไทยทั่วประเทศ
และในวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 จึงได้มีประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ให้จัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้น เพื่อให้การบริหารแรงงานได้มีความก้าวหน้าทัดเทียมประเทศอื่นๆ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
- การจัดหางาน
- งานแนะแนวอาชีพ
- การพัฒนาแรงงาน
- งานคุ้มครองแรงงาน
- งานแรงงานสัมพันธ์
กว่าจะได้มาเป็นวันหยุดของพี่น้องแรงงานชาวไทยนั้นไม่ใช่ง่ายๆเลยนะครับ กลุ่มคนใช้แรงงานนั้นนับว่าสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศเราให้เจริยก้าวหน้าต่อไป เพราะถ้าไม่มีชนชั้นแรงงานก็คงไม่มีคนที่จะไปออกแรงทำงานต่างๆ งานก็ไม่สำเร็จไปไปได้ เราจึงต้องให้ความสำคัยกับกลุ่มคนใช้แรงงานทุุกกลุ่มด้วยนะครับ.