Prompt Pay คืออะไร จะใช้ได้เมื่อไหร่ สมัครยังไง

Home  »  ข่าวไอที   »   Prompt Pay คืออะไร จะใช้ได้เมื่อไหร่ สมัครยังไง

Prompt Pay คืออะไร เราสมควรที่จะให้ความสนใจนะครับ เพราะเป็นเรื่องใหม่ของเราคนไทย โดยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดตัวบริการโอนและรับโอนเงินแบบใหม่ชื่อว่า “พร้อมเพย์–PromptPay” ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของ “Any ID” ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่รัฐบาลพยายามผลักดันภายใต้แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment และเศรษฐกิจดิจิทัล ได้มีธนาคารพาณิชย์ต่างๆ มาร่วมด้วย

promt pay logo

Prompt Pay พร้อมเพย์ คือบริการที่จะทำให้การโอนเงินง่ายและประหยัดขึ้น ไม่ต้องมีการถามเลขที่บัญชีธนาคารเลย โดยมีหลักการคือจะเชื่อมเลขบัญชีของทุกธนาคาร, หมายเลขโทรศัพท์มือถือ และเลขประจำตัวประชาชนไว้ด้วยกัน เวลาโอนเงินก็อาจจะแจ้งแค่เบอร์มือถือหรือเลขประชาชนก็พอ

วิธีสมัครใช้ PromptPay

ผู้ใช้บริการต้องเลือกบัญชีเงินฝากที่ต้องการจะใช้เป็นบัญชีหลักในการรับเงิน โดยจะต้องเตรียมเอกสาร 3 อย่างเพื่อประกอบการลงทะเบียนได้แก่

  1. สมุดบัญชี หรือ เลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร
  2. บัตรประจำตัวประชาชน
  3. โทรศัพท์มือถือที่ท่านต้องการลงทะเบียน

หลังจากนั้นให้ไปแจ้งลงทะเบียนกับธนาคาร โดยสามารถใช้ช่องทางบริการอื่นได้เช่น ATM, Internet Banking หรือ Mobile Banking หรือจะไปที่สาขาธนาคารที่เจ้าของบัญชีสะดวกก็ได้

สมัครพร้อมเพย์ได้เมื่อไหร่

เปิดให้บริการลงทะเบียนฟรี สำหรับทุกธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป และท่านสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการผูกบัญชีได้ตลอดเวลา

สิ่งที่ควรทราบ

หมายเลขโทรศัพท์มือถือและหมายเลขบัตรประชาชนผูกกับบัญชีเงินฝากได้บัญชีเดียวเท่านั้น หรือท่านอาจจะแยกให้แต่ละหมายเลขไปผูกกับบัญชีเงินฝากบัญชีละหมายเลขก็ได้ แต่สำหรับเลขบัตรประชาชนจะเป็นหมายเลขหลักที่ใช้สำหรับการโอนเงินสวัสดิการต่างๆ หรือคืนเงินภาษีจากภาครัฐ

ผู้โอนเงินต้องสมัครพร้อมเพย์หรือไม่?

  • ผู้โอนเงิน ไม่จำเป็นต้องสมัครใช้บริการ ก็สามารถโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ได้ทางช่องทางต่างๆ ได้ เช่น ตู้ ATMInternet/Mobile Banking หรือสาขาธนาคารเป็นต้น
  • ผู้รับเงิน สำหรับผู้รับเงินที่โอนมาจะต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์

promtpayinfo

Prompt Pay ดียังไง

  • ไม่ต้องจำเลขบัญชีธนาคาร ใช่แค่เบอร์โทรศัพท์แทนเลขบัญชีธนาคาร
  • สามารถรับเงินคืนภาษี, เงินสวัสดิการ ต่างๆ ได้โดยตรง
  • สะดวกสบาย ใช้ได้ทุกที่ทั้งบนมือถือ, ตู้ ATM หรือ ธนาคารทุกธนาคาร ทุกสาขา

และมีค่าธรรมเนียมในการโอนเงินหรือใช้บริการถูกกว่าค่าธรรมเนียมของธนาคารปกติมากคือ

  • โอนเงินไม่เกิน 5,000 บาท ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
  • โอนเงินระหว่าง 5,000 – 30,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 2 บาท
  • โอนเงินระหว่าง 30,000 – 100,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 5 บาท
  • โอนเงินมากกว่า 100,000 บาท ขึ้นไป เสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาท

บริการพร้อมเพย์ปลอดภัยหรือไม่ ?

พร้อมเพย์มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับระบบการโอนเงินประเภทต่างๆ ที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

สรุป

โดยสรุปก็พร้อมเพย์ก็คือระบบโอนเงินที่ทำให้เราสะดวกขึ้นและมีค่าธรรมเนียนที่ถูกกว่าเดิม และไม่ได้บังคับทุกคนให้ใช้จะสมัครหรือไม่ก็ได้ครับ

เรียบเรียงโดย Com250.com

 

Tags.

prompt pay, prompt pay คือ, promtpay, พร้อมเพย์ คืออะไร, prompt Pay คืออะไร, promt pay, prompt pay เริ่มใช้เมื่อไหร่, promtpay คือ

About the author: Com250

ชอบเขียนเรื่องราวการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา

Related Posts

7 Comments

  1. ใช้กับการโอนเงินจากกรมบังคับคดีให้เจ้าหนี้ กรณีสัมพันธ์ประกันภัยเลยครับ มว่าไม่ทำหรอกครับ ถึงจะมี PromptPay ขึ้นมาแต่ DelayProcess เป็นมรดกตกทอดฝังรากลึกในหน่วยงานรัฐมานาน เป็นแค่ Marketting รึเปล่าครับ?

  2. โอนกี่ครั้งก็ได้ครับ ค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้นั้น คิดต่อครั้งครับ

  3. ผมโอนเงิน ต่าง ธนาคาร 15000 บาท เสียค่าทำเนียม 25 บาทเท่าเดิม

  4. Bank กรุงเทพฯ
    ผมได้ทำการโอนเงิน ด้วย Int. Banking วันที่ 4 กรกฎาคม พอไปถึงขั้นตอนไกล้การยืนยัน
    จะมีการแจ้งค่าโอน 25 บาท ( ไหนบอกว่าไม่เกิน 5,000 บาท ไม่เสียค่าบริการ)
    แต่รายการที่ทำนั้น โอนไป 20,000 บาท คิด 25 บาท ( ซึ่งตามที่มีระเบียบการปฏิบัติ ไม่เกิน 30,000 ค่าบริการ ไม่เกิน 5 บาท)
    อย่างนี้ หมายถึงอะไร?

  5. การใช้บริการPromtpay สามารถโอนต่างธนาคารได้หรือไม่ และการโอนเงินตามวงเงินที่กำหนดทำได้วันละกี่ครั้ง หรือเดือนละก่ีครั้ง เช่นการโอนเงิน 5000 บาท จะโอนได้โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมต่อวันหรือต่อเดือนถึงอยู่ในเง่ือนไขฟรี

    1. โอนต่างธนาคารได้ครับ ส่วนจำนวนครั้งไม่ทราบครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *